ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

OS, Application, Utility, Tools ล่าสุดหรือน่าสนใจ


              ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
การนำลีนุกซ์มาใช้งาน
             ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)
อนาคตของลีนุกซ์
ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน
เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์
           ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น www.linux.org/dist/ftp.html
สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง
1.            คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
§  จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
§  ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
§  ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
§  มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
2.            ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
3.            ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
4.            รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
5.            รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
6.            จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
7.            รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
8.            รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
 IP Address
  Net Mask
  GateWay Address
  Name Server Address
  Domain Name
  Host Name
                Application ตัวนี้ มีนามว่า “Shoot it” ใช้ส่ง Postcard หาคนที่คุณคิดถึง ส่วนวิธีการส่งนั้น ก็ง่ายสมชื่อจริงๆเพียงแค่คุณใช้กล้องใน iPhone ถ่ายภาพสวยๆ เวลาคุณไปเที่ยวที่ต่างๆ เลือกมุมมองที่ถูกใจ พร้อมพิมพ์ข้อความอีกนิดหน่อย และก็หาที่ต่อ Wifi ซึ่งสมัยนี้ หาง่ายกว่าตู้ไปรษณีย์สะอีก! เพียงเท่านี้… Postcard ของคุณ ก็จะถึงมือผู้รับ โดยที่ไม่ต้องติดแสตมป์เลยด้วยซ้ำ!!!

                ถ้าเป็นการส่งโปสต์การ์ดแบบเดิมๆ คุณต้องหาทั้งร้านขาย Postcard และตู้ไปรษณีย์ แต่ถ้าคุณมี App ตัวนี้ แค่มี Wifi ก็เรียบร้อยแล้ว สะดวกไหมละ! ยิ่งกว่านั้น คุณไม่ต้องลุ้นด้วยซ้ำว่า โปสต์การ์ดจะถึงวันไหน (หรือจะถึงหรือเปล่า!?) เพราะว่า ตัว Postcard จะถูกส่งผ่าน Internet ไปที่ประเทศปลายทาง และค่อยไปพิมพ์ออกที่ประเทศนั้นๆ จึงใช้เวลาในการจัดส่งสั้นมากเลยทีเดียว (ไอเดียดีมากเลยครับ)
ค่าใช้จ่ายในการส่ง Postcard ต่อใบ ตอนนี้ ทางบริษัทตั้งไว้ที 1$ เท่านั้นครับ (ประมาณ 36 บาท) เผลอๆ จะถูกกว่า Postcard จริงๆ สะด้วย บริการนี้ ปัจจุบัน ยังเปิดให้ใช้แค่ในยุโรป กับอเมริกานะครับ แต่ทางบริษัทก็มีโครงการจะขยายไปทั่วโลกอยู่แล้ว!
 
การเพิ่มอรรถประโยชน์

                อรรถประโยชน์ (Utility) หมายถึงความสามารถในการบำบัดความต้องการที่มีอยู่ในตัวสินค้า
การผลิต(Production) คือการสร้างหรือเพิ่มอรรถประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์  การสร้างหรือเพิ่มประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะทำได้ดังนี้
                1.อรรถประโยชน์โดยรูปจากการแปรรูป (Form  Utility) คือการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสินค้า เช่น การนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร นำแผ่นเหล็กมาทำตู้ นำผ้ามาตัดเสื้อ  นำถั่วเหลืองมาสกัดเป็นน้ำมัน
                2. อรรถประโยชน์โดยเวลา (Time Utility) คือการเก็บรักษาสิ่งของเอาไว้ให้ผู้บริโภคได้บริโภคตามเวลาที่ต้องการ สินค้าบางชนิดอาจบริโภคได้เฉพาะบางฤดูกาล  เช่นผลไม้นำ มาผลิตเป็นผลไม้กระป๋อง  พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกเก็บของไว้ในสต๊อก
                3. อรรถประโยชน์โดยสถานที่   (Place  Utility) เกิดจากการขนย้ายสินค้าแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยการขนส่ง เช่น ขนส่งแร่จากในเหมืองมาในเมือง ขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นไปยังภูมิภาคต่างๆฯลฯ  พ่อค้าขายส่งส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีก ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้สะดวก
                4. อรรถประโยชน์โดยการเป็นเจ้าของเปลี่ยนกรรมสิทธิ์  (Possession  Utility) สินค้าบางชนิดจะมีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หลายทอดกว่าจะถึงผู้บริโภคคือกรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนจากผู้ผลิตไปยังพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก จนถึงผู้บริโภค  หรือผู้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายสินค้า เช่น รถยนต์ บ้าน ที่ดิน
                5. อรรถประโยชน์โดยการบริการ  (Services Utility) ผู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์จากการให้บริการเช่น บริการการขนส่ง ทนายความ แพทย์ การประกันภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น